เมนู

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสาธารณมญฺเญสํ แปลว่า ไม่ทั่วไป
แก่ชนเหล่าอื่น. ม อักษร ทำบทสนธิ เหมือนในประโยคเป็นต้นว่า อทุกฺขม-
สุขาย เวทนาย สมฺปยุติตา
ประกอบด้วยเวทนาที่ไม่ใช่ทุกข์ไม่ใช่สุข.
นิธิ อันโจรทั้งหลายลักไปไม่ได้ ชื่อว่า อโจราหรโณ. อธิบายว่า ย่อม
เป็นนิธิ ที่โจรทั้งหลายลักพาไปไม่ได้. ชื่อว่า นิธิ เพราะเขาฝังไว้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงพรรณนาคุณของบุญนิธิ ด้วยสองบทต้นอย่างนี้
แล้ว จากนั้นก็ทรงยังอุตสาหะให้เกิดในบุญนิธินั้นด้วยสองบทหลังจึงตรัสว่า
บุญนิธิอันใด ติดตามตนไปได้ ปราชญ์พึงทำบุญนิธิอันนั้น.
คาถานั้นมีความว่า เพราะเหตุที่ธรรมดาบุญนิธิไม่สาธารณะแก่ชน
เหล่าอื่น และเป็นนิธิที่โจรลักไปไม่ได้. แต่ก็มิใช่นิธิที่ไม่สาธารณะ และ
โจรลักไปไม่ได้อย่างเดียวดอก แท้จริง ยังเป็นนิธิที่ตรัสไว้อย่างนี้ว่า นิธิ
นั้น ฝังไว้ดีแล้ว อันใคร ๆ ผจญไม่ได้ ตามคนไปได้. นิธิใด ติดตาม
ในรูปได้ เพราะเหตุที่นิธินั้นเป็นบุญที่อย่างเดียว ฉะนั้น. ปราชญ์คือบุคคล
ผู้ถึงพร้อมด้วยพุทธความรู้ ถึงพร้อมด้วยธิติคือปัญญา พึงทำบำเพ็ญบุญ
ทั้งหลาย.

พรรณนาคาถาที่ 10


พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงยังอุตสาหะให้เกิดแก่เทวดาและมนุษย์
ทั้งหลาย ในบุญนิธิ ด้วยการพรรณนาคุณอย่างนี้แล้ว บัดนี้ ชนเหล่าใด
อุตสาหะแล้ว ทำอุตสาหะนั้นให้สำเร็จผล ด้วยการทำบุญนิธิ บุญนิธิของชน
เหล่านั้น ย่อมให้ผลอันใด เมื่อทรงแสดงผลอันนั้นโดยสังเขป จึงตรัสว่า
นิธินั้น ให้ผลที่น่าใคร่ทุกอย่างแต่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย.

บัดนี้ เพราะเหตุที่บุญนิธิ เนื่องอยู่ด้วยความปรารถนาเป็นเครื่องให้
สิ่งตามปรารถนา จึงจะเว้นความปรารถนาเสียมิได้ เหมือนที่ตรัสไว้ว่า
ดูก่อนคฤหบดีทั้งหลาย ผู้ประพฤติธรรม ประ-
พฤติสม่ำเสมอ พึงหวังว่า โอหนอ เบื้องหน้าแต่ตาย
เพราะกายแตก. เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของเหล่า
กษัตริย์มหาศาลไซร้ ข้อที่เขาหวังว่า เบื้องหน้าแต่ตาย
เพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความเป็นสหายของเหล่า
กษัตริย์มหาศาล ก็เป็นฐานะเป็นไปได้. ข้อนั้นเป็น
เพราะเหตุไร. เพราะผู้นั้นเป็นผู้ประพฤติธรรม ประ-
พฤติสม่ำเสมอ อย่างนั้น. ฯลฯ เขากระทำให้แจ้ง
เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันหาอาสวะมิได้ด้วยปัญญา
ยิ่งเองในปัจจุบันแล้วเข้าถึงอยู่. ข้อนั้น เพราะเหตุไร
เพราะเขาเป็นผู้ประพฤติธรรม ประพฤติสม่ำเสมอ.
จริงอย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม
เป็นผู้ประกอบด้วยศรัทธา ประกอบด้วยศีล สุตะ
จาคะ ปัญญา ภิกษุนั้นปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอหนอ
เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายแตก เราพึงเข้าถึงความ
เป็นสหายของเหล่ากษัตริย์มหาศาล. ภิกษุนั้นตั้งจิตนั้น
อธิษฐานจิตนั้น เจริญจิตนั้น. สังขารปัจจัย เครื่องปรุง
แต่ง และวิหารธรรมเครื่องอยู่เหล่านั้น อันภิกษุนั้น
เจริญให้มากอย่างนี้ ทำไห้มากอย่างนี้ ย่อมเป็นไปเพื่อ
เกิดในที่นั้น อย่างนี้เป็นต้น.

เพราะฉะนั้น เนื้อทรงแสดงปริยายแห่งความหวังอย่างนั้น ๆ ความ
ปรารถนาที่มีอธิษฐานภาวนาด้วยการตั้งจิตเป็นบริขาร เหตุในความที่บุญนิธิ
นั้น ให้ผลที่น่าใคร่ทุกอย่างนั้น จึงตรัสว่า
เทวดาและมนุษย์ ปรารถนานักซึ่งอิฐผลใด ๆ
อิฐผลทุกอย่างนั้น อันบุคคลย่อมได้ด้วยบุญนิธินี้.


พรรณนาคาถาที่ 11


บัดนี้ ผลนั้นใดทุกอย่าง อันเทวดาและมนุษย์ย่อมได้ด้วยบุญนิธินั้น
เมื่อทรงแสดงผลนั้นเป็นอย่าง ๆ จึงตรัสคาถาอย่างนี้ว่า ความมีวรรณะงาม ความ
มีเสียงเพราะเป็นต้น.
บรรดาคาถาเหล่านั้น จะวินิจฉัยในคาถาที่ 1 ก่อน ความมีฉวีวรรณ
งาม ความมีผิวหนังคล้ายทอง ชื่อว่าความมีวรรณะงามนั้น บุคคลย่อมได้ด้วย
บุญนิธินั้น. เหมือนอย่างที่ตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ชาติก่อน ภพก่อน กำเนิด
ก่อนตถาคตเกิดเป็นมนุษย์แต่ก่อน เป็นคนไม่โกรธ
ไม่มากด้วยความคับแค้นใจ ถึงถูกเขาว่ากล่าวมาก ๆ ก็
ไม่ขัดใจ ไม่โกรธ ไม่พยาบาท ไม่ใช้กำลัง ไม่ทำ
ความกำเริบ โทสะ และความไม่มีเหตุปัจจัยให้ปรากฏ
ทั้งเป็นผู้ให้ผ้าปูลาด ผ้านุ่งห่มเนื้อละเอียดอ่อน ผ้า
เปลือกไม้เนื้อละเอียด ผ้าฝ้ายเนื้อเอียด ผ้ากัมพล
เนื้อละเอียดแม้อันใด ตถาคตนั้น เพราะทำสร้างสม
กรรมนั้น ฯลฯ จุติจากภพนั้นแล้ว มาสู่ความเป็นอย่างนี้
ย่อมได้มหาปุริสลักษณะนี้คือ เป็นผู้มีวรรณะดังทอง
มีผิวคล้ายทอง.